ทรู เผยไตรมาส 1 ขาดทุน 492 ล้านบาท ลุย “ขายพ่วงและขายเพิ่ม” หวังช่วยสร้างการเติบโต

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) รายงานผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2566 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทมีรายได้จากการให้บริการตามงบการเงินเสมือนที่ 38,985 ล้านบาท ลดลง 1.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลง 2.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากรายได้จากการให้บริการที่ลดลงจากธุรกิจ โทรศัพท์เคลื่อนที่และธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่มีรายได้จากการให้บริการ 31,142 ล้านบาท ลดลง 1.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและลดลง 2.5% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน

โดยมีสาเหตุ หลักจากรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการ (ARPU) อ่อนตัวลงเพราะการแข่งขันในตลาดที่ยังคงสูง อย่างไรก็ตามฐานผู้ใช้บริการยังคงเติบโตแข็งแกร่ง โดยผู้ใช้บริการระบบเติม เงินอยู่ที่ 34.7 ล้านรายผลักดันโดยการกลับมาของนักท่องเที่ยว

ในขณะที่ผู้ใช้บริการ ระบบรายเดือนอยู่ที่ 15.7 ล้านราย ทั้งนี้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดเติบโตขึ้น 1.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย ณ สิ้นไตรมาส 1 มีฐานผู้ใช้บริการ รวม 50.5 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้บริการ 5G ที่ 6.3 ล้านรายเพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสก่อน

ธุรกิจออนไลน์มีรายได้จากการให้บริการ 5,628 ล้านบาท ลดลง 0.9% จากไตรมาสก่อนและลดลง 2.3% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน จากรายได้จากการให้บริการในกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่ถูกกดดันด้วยการแข่งขันที่สูง อย่างไรก็ตามรายได้จากการให้บริการในกลุ่มลูกค้าองค์กรยังคงเติบโตได้ดี

ธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิกมีรายได้จากการให้บริการ 1,667 ล้านบาท ลดลง 1.9% จากไตรมาสก่อนและลดลง 1.6% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน

รายได้จากค่าสมาชิกและค่าติดตั้งคิดเป็น 74% ของรายได้จากการให้บริการ ในขณะที่รายได้ จากธุรกิจดนตรีและบันเทิงปรับตัวดีขึ้นจากการจัดคอนเสิร์ตที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1 รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่จำนวนสมาชิกในกลุ่ม mass ลดลง

รายได้จากการเชื่อมต่อโครงข่ายเป็น 1,549 ล้านบาทเติบโตขึ้น 273.8% จากไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้น 214.2% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนจากการบรรลุข้อตกลง ในเชิงบวกในไตรมาส 1 ปี 2566 ของข้อพิพาททางกฎหมายที่กำลังดำเนินอยู่ รายได้จากการขายเป็น 5,740 ล้านบาท ลดลง 28.8% จากไตรมาสก่อนและลดลง 28.9% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน จากการขายเครื่องโทรศัพท์ที่ลดลงในไตรมาส 1 ปี 2566

และการเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ที่เร็วขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2565 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเป็น 32,174 ล้านบาท ลดลง 10.3% จากไตรมาสก่อนและลดลง 5.2% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน จากมาตราการมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านโครงข่ายเป็น 4,546 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ในปีก่อนจากค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคที่สูงขึ้นตามราคาพลังงานและการขยายโครงข่าย เพื่อขยายการให้บริการ

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการให้บริการอื่นๆ ลดลง 8.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนจากการบรรลุข้อตกลงในการแก้ไขสัญญาบริการขาย ส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA และสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA เพื่อให้สะท้อนต่อความจุโครงข่ายที่ใช้งานจริงกับบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ต้นทุนขายลดลง 30%

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนตามรายได้จากการขายที่อ่อนตัวลงและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (IDD) ที่ลดลง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 9.0% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน จากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการควบรวมกิจการในไตรมาส 1 ปี 2566 EBITDA ในไตรมาส 1 ปี 2566 เป็น 19,452 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.1% จากไตรมาสก่อนจากผลกระทบที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากการเจรจาทางสัญญาในไตรมาส 4 ปี 2565 และการบรรลุข้อตกลงในเชิงบวกในไตรมาส 1 ปี 2566

ทรู เผยไตรมาส 1 ขาดทุน 492 ล้านบาท ลุย “ขายพ่วงและขายเพิ่ม” หวังช่วยสร้างการเติบโต

ของข้อพิพาททางกฎหมายที่กำลังดำเนินอยู่ มาตราการมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ บริษัทยังคงส่งผลเชิงบวกต่อ EBITDA อย่างต่อเนื่อง EBITDA ลดลง 8.7% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนตามการอ่อนตัวของรายได้จากการให้บริการและค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานที่สูงขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2566 อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม

ยังคงแข็งแกร่งที่ 37.8% ในไตรมาส 1 ปี 2566 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเป็น 16,169 ล้านบาทค่อนข้างทรงตัว (ลดลง 0.1%) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนในขณะที่เพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันในปีก่อนจากการขยายโครงข่ายเพื่อเพิ่มประสบการณ์และคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้า

บริษัทรายงานผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัท 492 ล้านบาทจาก EBITDA

ที่ลดลงและค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สูงขึ้น ทั้งนี้กำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2566 ได้อานิสงส์จากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันอีกด้วย ขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทในไตรมาส 4 ปี 2565 ได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำประมาณ 8.5 พันล้านบาท

สำหรับปี 2566 บริษัทคาดการณ์ว่ารายได้จากการให้บริการไม่รวมรายได้จากการเชื่อมต่อโครงข่าย: ทรงตัว และ EBITDA: ทรงตัว – ลดลงด้วยเลขตัวเลขหลักเดียวในระดับต่ำ ส่วนเงินลงทุน: ประมาณ 2.5 – 3.0 หมื่นล้านบาท บริษัทจะยังคงผลักดันการรับรู้รายได้ที่เกิดจากการควบรวม (Revenue Synergies) ผ่านการขายพ่วงและขายเพิ่ม ในขณะเดียวกันก็ยังจะดำเนินมาตราการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

บริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้าง Synergies ที่เกิดจากการควบรวมให้ได้ตามที่คาดหวังไว้เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต อย่างไรก็ตาม Guidance สำหรับปีนี้ยังอาจต้องพิจารณาเพิ่มเติมในภายหลังเนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านของธุรกิจของบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น และการดำเนินงานหลังการควบรวม

ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : shop-wiz.com